ข้อดีของการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังด้วยระบบอีอาร์พี (ERP)

ในการทำธุรกิจที่ให้บริการลูกค้าจะมีธุรกิจทั้งแบบที่มีการวางระบบผลิตและไม่มีการวางระบบผลิต ซึ่งในธุรกิจแบบที่ไม่มีการวางระบบผลิต จะเป็นธุรกิจที่โฟกัสไปที่งานบริการลูกค้า ในธุรกิจที่มีการวางระบบการผลิต ก็จะมีการผลิตสินค้าเข้าสู่ตลาด เพื่อวางจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค

ในสินค้าที่มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แก่ผู้บริโภคในหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่อาจมีผลกระทบกับสุขภาพร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริโภคใส่ใจมากในยุคสมัยนี้

และทางผู้ผลิตเองก็มีโอกาสที่จะเกิดข้อร้องเรียนจากลูกค้าได้ ซึ่งข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้น หากเป็นความผิดพลาดจากทางผู้ผลิตเองโดยตรง ก็ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ต้องนำไปแก้ไขปรับปรุง

ถ้าไม่ใช่ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการผลิตของผู้ผลิต แต่ลูกค้าหรือผู้บริโภคได้มีข้อร้องเรียนขึ้นมา ทางผู้ผลิตหรือองค์กรจะทำอย่างไร จึงจะสามารถพิสูจน์ให้ลูกค้าทราบได้ว่า ความผิดพลาดนั้นมาจากแหล่งที่มาอื่น

เช่น ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปที่มีกระบวนการผลิตได้มาตรฐานระดับส่งออก ถูกลูกค้าร้องเรียน ว่าอาหารถูกปนเปื้อนด้วยสิ่งไม่พึงประสงค์

ปัญหาก็มาตกที่ผู้ประกอบการว่าจะสามารถพิสูจน์เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้อย่างไรว่า สิ่งที่ปนเปื้อนในอาหารนั้น ไม่ได้มาจากกระบวนการผลิตของผู้ผลิต แต่มาจากแหล่งอื่น

และโรงงานของผู้ผลิตเองก็มีการผลิตสินค้าออกไปจำหน่ายเป็นจำนวนมาก จะตรวจสอบหรือจะเช็คได้อย่างไร ว่าสินค้าที่ถูกร้องเรียนมาจากลอตไหนที่ผู้ผลิตทำการวางจำหน่าย

เครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังทั้งหมดได้นั่นคือ “ระบบอีอาร์พี” โดยเฉพาะสำหรับการผลิตที่มีปริมาณมาก ๆ

การใช้ระบบอีอาร์พีเข้ามาเป็นเครื่องมือก็จะยิ่งช่วยให้การตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังทำได้ง่ายและรวดเร็ว (Click เพื่ออ่าน การควบคุมการเข้าถึงข้อมูลด้วยระบบอีอาร์พี )

โดยระบบอีอาร์พีช่วยให้องค์กรของผู้ผลิตสามารถติดตามและระบุได้อย่างชัดเจนว่าวัตถุดิบแต่ละชิ้นที่นำมาผลิตได้มาจากแหล่งใด สินค้าถูกผลิตโดยใคร และมีคุณภาพอย่างไร นอกจากนี้ยังช่วยในการตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อกำหนดและมาตรฐานการผลิตที่กำหนดไว้

ซึ่งระบบอีอาร์พีจะทำการเก็บข้อมูลในแต่ละส่วนดังนี้

1. การบริหารข้อมูล
ระบบอีอาร์พี (ERP) ช่วยในการจัดการข้อมูลทั้งหมดขององค์กร รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการผลิต เช่น วัตถุดิบต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิต แหล่งที่มาของวัตถุดิบ สูตรในการผลิต รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องของกระบวนการผลิต

2. การติดตามวัตถุดิบ
ระบบอีอาร์พี (ERP) ช่วยในการติดตามการรับเข้าของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต โดยระบุแหล่งจากที่วัตถุดิบมา จำนวนที่รับเข้า และวันที่รับเข้า เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดและมาตรฐานที่กำหนดไว้

3. การสร้างรายการผลิต
ระบบอีอาร์พี (ERP) ช่วยในการสร้างรายการผลิตโดยอัตโนมัติ โดยอิงจากความต้องการของลูกค้าหรือการนำเข้าของวัตถุดิบ ระบบจะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องผลิต เวลาที่ต้องผลิต และวัตถุดิบที่จำเป็น

4. การติดตามกระบวนการการผลิต
ระบบอีอาร์พี (ERP) ช่วยในการติดตามกระบวนการการผลิตของสินค้า จากการรับวัตถุดิบไปจนถึงผลิตภัณฑ์สำเร็จ เพื่อให้ทราบถึงสถานะปัจจุบันของการผลิต

5. การบันทึกข้อมูลการผลิต
ระบบอีอาร์พี (ERP) ช่วยในการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการผลิต เช่น การวัดปริมาณผลิตภัณฑ์ คุณภาพผลิตภัณฑ์ และระยะเวลาการผลิต เพื่อให้สามารถติดตามและตรวจสอบได้ง่าย

6. การติดตามการจัดส่ง
ระบบอีอาร์พี (ERP) ช่วยในการติดตามการจัดส่งผลิตภัณฑ์หรือสินค้าไปยังลูกค้า รวมถึงข้อมูลการจัดส่ง เช่น วันที่ส่ง และข้อมูลการส่งอื่น ๆ

7. การตรวจสอบคุณภาพ
ระบบอีอาร์พี (ERP)ช่วยในการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทดสอบและตรวจสอบคุณภาพ เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ตรงกับมาตรฐานที่กำหนดไว้

ดังนั้นสำหรับองค์กรของผู้ผลิตที่มีระบบการผลิตและมีความจำเป็นต้องบันทึกข้อมูลเพื่อเก็บไว้ตรวจสอบในกรณีต่าง ๆ เช่น มีข้อร้องเรียนจากลูกค้า การวางระบบอีอาร์พี (ERP) เพื่อให้เข้ามาช่วยบริหารจัดการองค์กรของผู้ผลิตจึงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่นอกจากจะช่วยบริหารจัดการองค์กรของผู้ผลิตแล้ว ยังช่วยให้องค์กรสามารถตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างเป็นจริง เพื่อทั้งผลประโยชน์ขององค์กรของผู้ผลิตและผู้บริโภคด้วยเช่นกัน (Click เพื่ออ่าน 5 ข้อดีที่มีอีอาร์พี (ERP) บริหารจัดการองค์กร)

ส่งข้อมูลเพื่อนัดเดโม
(ไม่มีค่าใช้จ่าย)

Contact Form Demo
Scroll to Top