8 ปัญหาที่ต้องเจอหากตัดสินใจวางระบบอีอาร์พี ERP

การใช้งานระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยให้การจัดการธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น

แต่ทุกระบบล้วนอาจก่อให้เกิดปัญหาที่พบได้บ่อยครั้ง เช่นบั๊กจากการใช้งาน

หรือ อะไรที่เคยทำได้แต่เมื่อมีระบบเข้ามาก็ไม่สามารถทำงานในแบบเดิมๆ ได้

ซึ่งบทความนี้จะเป็นการเขียนถึงปัญหาที่ต้องเจอเมื่อบริษัทเริ่มต้นใช้งานระบบอีอาร์พี

โดยมีข้อมูลทั้งหมดดังนี้

1. ปัญหาจากค่าใช้จ่ายสูง

ต้องขออนุญาตแจ้งแบบไม่ปิดบังว่าระบบอีอาร์พีมีราคาที่แพง ทั้งค่าติดตั้ง ค่าวางระบบ และยังมีค่าบริการรายปี ซึ่งถ้าเจ้าไหนไม่มี

คงจะเป็นองค์กรเพื่อการกุศล เพราะระบบอีอาร์พีต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมาดำเนินการวางระบบ

และยังมีเรื่องโปรแกรมเมอร์ที่สามารถเขียนระบบให้ตอบโจทย์กับผู้ใช้งาน ทำให้ระบบมีราคาที่แพง

และเป็นต้องจ่ายค่าบริการทุกปี ซึ่งหากไม่ทำการชำระตรงส่วนนี้ก็อาจจะทำให้องค์กรไม่สามารถใช้ระบบต่อไปได้

กลายเป็นปัญหาใหญ่เรื้อรังสำหรับองค์กรที่ไม่พร้อมเรื่องการเงิน

2. การปรับตัวของพนักงานในการใช้ระบบอีอาร์พี

สิ่งนี้ถือเป็นประเด็นสำคัญที่สุดในการวางระบบอีอาร์พี เพราะผู้ประกอบการทุกท่านล้วนต้องการให้องค์กรพัฒนาขึ้น

ละสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องพึ่งใครคนใดคนหนึ่ง ซึ่งพนักงานจะต้องทำการปรับตัวเพื่อให้ตัวเองสามารถใช้งานระบบอีอาร์พีได้

แน่นอนว่าปัญหาที่ทุกที่จะเจอคือแรงต่อต้านจากพนักงานโดยเฉพาะกลุ่มที่เคยชินกับการทำงานเดิมๆ

3. ปัญหาเวลามีพนักงานเข้าใหม่

ระบบอีอาร์พี มีความซับซ้อน ยุ่งยากมากกว่าระบบทั่วไป หากองค์กรไม่เตรียมซุปเปอร์ยูสเซอร์หรือก็คือคน

ที่สามารถแนะนำระบบการทำงานให้คนใหม่ได้ เมื่อมีคนใหม่เข้ามา และคนเก่าลาออกไป ต้องมีการจัดเทรนให้กับคนใหม่อีกครั้ง

ซึ่งก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเทรนให้กับพนักงาน ราคาต่อวันก็เป็นหลักหมื่นกันเลยทีเดียว

4. ปัญหาการเชื่อมโยงข้อมูลอีอาร์พีกับระบบอื่น

หากบริษัทมีระบบการทำงานที่ค่อนข้างหลากหลายและต้องการเชื่อมโยงระบบอีอาร์พีเข้ากับระบบอื่นเช่นระบบหน้าร้าน

หรือระบบวางแผนการผลิต ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาความไม่เสถียรในการใช้งาน หรือเจอบั๊กบางอย่างที่มาจากระบบ

เพราะฉะนั้นควรเลือกระบบอีอาร์พีที่โมดูลการทำงานที่ครบวงจร แม้จะต้องเปลี่ยนระบบทั้งองค์กรก็ควรต้องเปลี่ยน

เพราะจะทำให้การทำงานสมูทมากกว่าการเชื่อมระบบเข้าด้วยกัน

5. ปัญหาจากการสูญเสียข้อมูล

ต้องบอกว่าปัญหาตรงส่วนนี้จะเกิดขึ้นได้น้อยมากๆ แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่เคยเกิดขึ้นเพราะถ้าในองค์กรของท่านไม่มีไอทีที่คอยแบล็คอัพข้อมูล

เพื่อป้องกันการถูกแฮกจากผู้ไม่หวังดีและเข้ามาลบข้อมูลในเครื่องเซอร์เวอร์ทั้งหมด

ก็ทำให้เกิดความเสี่ยงที่ข้อมูลจะรั่วไหลได้ ทำให้ปัจจุบันหลายๆ องค์กรเลือกที่จะใช้บริการคลาวด์

เพื่อเก็บข้อมูลในการทำงาน และต้องบอกตรงนี้ว่าคลาวด์นั้นมีความปลอดภัย

และมีความเสถียรมากกว่าการใช้เซอร์เวอร์ในการรันและเก็บข้อมูล

6. ปัญหาทางเทคนิค

อาจมีปัญหาทางเทคนิค เช่น บั๊ก หรือข้อบกพร่องในซอฟต์แวร์ ที่ต้องการการแก้ไขอย่างรวดเร็ว

แต่ส่วนใหญ่หากระบบเจอบั๊กทางเทคนิคจะรีบแก้ไขให้เป็นกรณีเร่งด่วน

7. ปัญหาความปลอดภัยของข้อมูล

การใช้ระบบ ERP อาจทำให้ข้อมูลสำคัญถูกเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตหากไม่มีการรักษาความปลอดภัยที่เพียงพอ

เช่นการเข้าถึงฐานข้อมูลของผู้ให้บริการ ควรมีการเงื่อนไขในการซัปพอร์ตว่าอนุญาตให้เขาถึงฐานข้อมูลในระดับไหน

8. การพึ่งพาผู้ให้บริการ

ถือเป็นเรื่องที่ผู้ให้บริการอีอาร์พีกับผู้ใช้งานต้องมากระทบกระทั่งกัน เพราะผู้ใช้บริการมักมองว่าทีมซัปพอร์ตระบบอีอาร์พีต้องจัดการทุกอย่างให้ได้

เช่นการเข้าถึงฐานข้อมูล หรือการเข้าระบบข้อมูลภายในเพื่อเข้าไปแก้ไขข้อมูลที่คีย์ผิดได้

ลวร้ายสุดๆ คือไม่แจ้งอะไรแต่จะให้ซัปพอร์ตแก้ไขให้อย่างเดียว

ซึ่งในความเป็นจริงผู้ให้บริการอีอาร์พีไม่สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลของผู้ใช้บริการได้

ยกเว้นมีเอกสารอนุญาตซึ่งต้องลงนามจากกรรมการหรือผู้มีอำนาจเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถรับรู้ว่าปัญหาของผู้ใช้บริการคืออะไร

ส่วนใหญ่จะใช้วิธีรีโมตเพื่อเข้าไปแก้ไขให้ที่หน้าจอแทน ดังนั้น

ผู้ใช้บริการไม่ควรพึ่งพาผู้ให้บริการจนเกินไปเพราะหากการดูแลที่เกินสโคปของเงื่อนไขก็จะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายกับองค์กรได้

ซึ่งปัญหาที่เกิดจากการใช้งานระบบอีอาร์พีส่วนใหญ่ก็จะเจอปัญหาจากค่าใช้จ่ายที่สูง การปรับตัวของพนักงานในการใช้ระบบอีอาร์พี

ปัญหาเวลามีพนักงานเข้าใหม่ ปัญหาการเชื่อมโยงข้อมูลอีอาร์พีกับระบบอื่นปัญหาจากการสูญเสียข้อมูล

ปัญหาทางเทคนิค ปัญหาความปลอดภัยของข้อมูล และ ปัญหาจากการพึ่งพาผู้ให้บริการมากเกินไป

ดังนั้น ผู้ประกอบการควรมีส่วนร่วมในการวางระบบทั้งหมดเพื่อทำความเข้าใจ และป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมาได้

Click เพื่ออ่าน จะต้องแจ้งปัญหากับ Support อย่างไร เมื่อมีปัญหาในการใช้ระบบ PlanetOne ERP

ระบบ PlanetOne ERP สำหรับองค์กรไทย มีฟังก์ชันการทำงานที่หลาก ดังนี้ Packages

  • ระบบบัญชีรายได้รองรับส่วนลดได้หลายระดับ
  • ระบบบัญชีรายจ่าย
  • ระบบภาษี
  • ระบบจัดซื้อ
  • ระบบวิเคราะห์การสั่งซื้อ
  • ระบบสั่งขาย
  • ระบบวิเคราะห์การสั่งขาย
  • ระบบคลังสินค้า
  • ระบบควบคุมเช็คและเงินฝาก
  • ระบบควบคุมการผลิต
  • ระบบออกแบบสูตรการผลิตเพื่อควบคุมต้นทุนการผลิต
  • ระบบต้นทุนการผลิต
  • ระบบบาร์โค้ด (Handheld)
  • มีบริการ cloud storage (เช่าบริการรายปี)

ติดต่อสอบถามข้อมูล

Tel. 095 294 5693 คุณเจน

Office : 02 271 4362-3

Scroll to Top